หน้าแปลน…คืออะไร (What is Flange?)

Last updated: 15 ก.ย. 2565  |  2309 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หน้าแปลน…คืออะไร (What is Flange?)

หน้าแปลน…คืออะไร (What is Flange?)


หน้าแปลน (Flange) คือ สิ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างปลายของท่อ หรือ เชื่อมต่อกันระหว่างท่อกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือ เชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด

การเชื่อมหน้าแปลน คือ การเชื่อมต่อหน้าแปลนแบบถอดได้ โดยจะมีปะเก็นและสลักเชื่อมต่อกันเป็นโครงสร้างทำหน้าที่ให้หน้าแปลนยึดติดกัน

หน้าแปลนท่อ คือ หน้าแปลนที่ใช้สำหรับท่อในการติดตั้งกับหน้าแปลนอื่นๆ โดยหน้าแปลนจะเชื่อมติดอยู่กับทั้ง 2 ด้านของอุปกรณ์ คือ ทางเข้า และ ออก หน้าแปลนท่อจะมีสลักและรูหน้าแปลนให้สลักเชื่อมติดกันได้ดี และจะมีปะเก็นปิดผนึกสลักซ้ำอีกที

หน้าแปลนเกลียว หน้าแปลนเชือมต่อ(เกลียวเชื่อมต่อ) หน้าแปลนเชื่อม และ หน้าแปลนคลิป ครีบที่ผูกมัดลวดสามารถใช้ได้กับครีบที่ใช้กับท่อแรงดันต่ำ ปะเก็นเชื่อมจะใช้สำหรับแรงดันจากด้านบน และจะอยู่ระว่างครีบ 2 อัน ความหนาของหน้าแปลนจะใช้สลักเกลียวที่แตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับแรงดัน เมื่อนำปั๊มและวาล์วมาเชื่อมต่อกับท่อเพื่อยึดติดให้เป็นส่วนเดียวกัน จะต้องมีหน้าแปลนที่สอดคล้องกัน เรียกว่าหน้าแปลนเชื่อมต่อ                              


ชนิดต่างๆของหน้าแปลน (TYPES OF FLANGE)


หน้าแปลนจะมีมาตราฐานที่กำหนดไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ดังนั้นการรู้มาตราฐานของหน้าแปลนแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไรจึงเป็นสิ่งจำเป็น

มาราฐานของหน้าแปลนมีทั้งหมด 3 ชนิด

             1. ANSI (USA)
            2. DIN (GERMAN/EUROPE)
            3. JIS (JAPAN/ASIA)



1. หน้าแปลนมาตราฐาน ANSI (USA) แบ่งย่านความดันออกเป็น 7 ชนิด คือ ANSI 150, ANSI 300, ANSI 400, ANSI 600, ANSI 900, ANSI 1500, และ ANSI 2500 โดยตัวเลขจะหมายถึงความทนทานต่อแรงดันในหน่วย PSI

  • ANSI 150 คือ หน้าแปลนสามารถทนต่อแรงดันได้ 150 PSI
  • ANSI 300 คือ หน้าแปลนสามารถทนต่อแรงดันได้ 300 PSI
  • ANSI 400 คือ หน้าแปลนสามารถทนต่อแรงดันได้ 400 PSI
  • ANSI 600 คือ หน้าแปลนสามารถทนต่อแรงดันได้ 600 PSI
  • ANSI 900 คือ หน้าแปลนสามารถทนต่อแรงดันได้ 900 PSI
  • ANSI 1500 คือ หน้าแปลนสามารถทนต่อแรงดันได้ 1500 PSI
  • ANSI 2500 คือ หน้าแปลนสามารถทนต่อแรงดันได้ 2500 PSI  

และจะมีขนาด (Flange’s Dimension) กำกับไว้ด้วย เช่น ANSI 150 3/4″, ANSI 300 1″ เป็นต้น



2. หน้าแปลนมาตราฐาน DIN (GERMAN/EUROPE) แบ่งย่านความดันออกเป็น 5 ชนิด คือ PN 6, PN 10, PN 16, PN 25, และ PN 40 โดยตัวเลขจะหมายถึงความทนทานต่อความดันในหน่วย BAR

  • PN 6 คือ หน้าแปลนสามารถทนต่อแรงดันได้ 6 BAR
  • PN 10 คือ หน้าแปลนสามารถทนต่อแรงดันได้ 10 BAR
  • PN 16 คือ หน้าแปลนสามารถทนต่อแรงดันได้ 16 BAR
  • PN 25 คือ หน้าแปลนสามารถทนต่อแรงดันได้ 25 BAR
  • PN 40 คือ หน้าแปลนสามารถทนต่อแรงดันได้ 40 BAR


และจะมีขนาด (Flange’s Dimension) กำกับไว้ด้วย เช่น DN10(3/8”) PN6 DN25(1”) PN40 เป็นต้น




3. หน้าแปลนมาตราฐาน PN (JAPAN/ASIA) แบ่งย่านความดันออกเป็น 8 ชนิด คือ JIS 2K, JIS 5K, JIS 10K, JIS 16K, JIS 20K, JIS 30K, JIS 40K, JIS 63K โดยตัวเลขจะหมายถึงความทนทานต่อแรงดันในหน่อย Kgc/cm2 หรือ BAR

  • JIS 2K คือ หน้าแปลนสามารถทนแรงต่อแรงดันได้ 2 Kgc/cm2 หรือ BAR
  • JIS 5K คือ หน้าแปลนสามารถทนแรงต่อแรงดันได้ 5 Kgc/cm2 หรือ BAR
  • JIS 10K คือ หน้าแปลนสามารถทนแรงต่อแรงดันได้ 10 Kgc/cm2 หรือ BAR
  • JIS 16K คือ หน้าแปลนสามารถทนแรงต่อแรงดันได้ 16 Kgc/cm2 หรือ BAR
  • JIS 20K คือ หน้าแปลนสามารถทนแรงต่อแรงดันได้ 20 Kgc/cm2 หรือ BAR
  • JIS 30K คือ หน้าแปลนสามารถทนแรงต่อแรงดันได้ 30 Kgc/cm2 หรือ BAR
  • JIS 40K คือ หน้าแปลนสามารถทนแรงต่อแรงดันได้ 40 Kgc/cm2 หรือ BAR
  • JIS 63K คือ หน้าแปลนสามารถทนแรงต่อแรงดันได้ 63 Kgc/cm2 หรือ BAR


และจะมีขนาด (Flange’s Dimension) กำกับไว้ด้วย เช่น JIS10K 25A(1”) เป็นต้น


ขอบคุณเนื้อหาและภาพจาก Credit : https://oiltech.co.th

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้